top of page
Writer's pictureมนุษย์กลยุทธ์

เจาะธุรกิจ Pandamart เพราะโลก Food Delivery จะเป็นทุกอย่างให้เธอ (แล้ว)

Updated: Mar 11, 2021



ในยุค Lazy Economy หรือเศรษฐกิจของคนขี้เกียจ ที่ผู้บริโภคอยากจะจ่ายเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกสบายทุกอย่าง ทำให้โมเดลธุรกิจแบบ Quick Commerce หรือ Q Commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะ Q Commerce สัมพันธ์กับ Lazy Economy โดยตรง เนื่องจากพอผู้บริโภคกำลังรอสินค้าหรือบริการอยู่ที่พักอาศัย “ความเร็ว” จะเป็นตัวแปรสำคัญของการทำธุรกิจในยุคนิวนอมอล

นั่นหมายถึง ผู้บริโภคจะพอใจกับ Q Commerce ไม่ว่าจะเป็นการส่งพัสดุ การขนส่งอาหาร หรือแม้แต่ล่าสุด ธุรกิจบริการสั่งซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตได้รับความนิยมมาก อย่างเช่น Pandamart หรือบริการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ผ่านร้านซูเปอร์ฯ


ซึ่งกรณีของ Pandamart เราจะสังเกตว่า บริการซื้อสินค้าฯ จะตอบ Brand Essence หรือดีเอ็นเอของแบรนด์ ที่ต้องการบริการผู้บริโภคผ่าน Delivery ซึ่งสอดคล้องกับกับเป้าหมายของ Deliver Hero บริษัทแม่ของ Foodpanda ที่ประสบความสำเร็จจากการขยายธุรกิจ Food Delivery ในประเทศเยอรมนี


สำหรับการเติบโตของ Pandamart ในปีนี้ ได้เปิดให้บริการครบ 150 แห่งในเอเชีย ด้วยการบริหารจัดการเซ็นเตอร์ของ Pandamart แบบ Cloud Store ซึ่งมีผู้ให้บริการ Food Delivery อื่นๆ ก็ใช้กลยุทธ์ Cloud เช่นกัน

โดยกลยุทธ์ Cloud Marketing มีต้นแบบมาจากระบบ Cloud ในคอมพิวเตอร์ โดย Cloud Marketing ในธุรกิจขนส่งอาหารและสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Pandamart คือ การที่ผู้ผลิตสามารถจัดสินค้าให้เป็นระบบ ลดความเสี่ยงเรื่องการจัดเรียงออเดอร์ผิด ขณะเดียวกันช่วยประหยุดต้นทุนด้านการขนส่งโลจิสติกส์ ซึ่งจะส่งผลกับค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่าย ดังนั้นยิ่ง Pandamart มี Cloud Store ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ Pandamart มีจุดเด่นเรื่องค่าบริการจากการขนส่งที่ถูก เมื่อเทียบกับเจ้าอื่น

เพราะ Lazy Economy โดยเฉพาะธุรกิจ Food Delivery นอกจากความเร็วแล้ว สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคไม่น้อยไม่กว่ากันคือ ค่าธรรมเนียมหรือค่า Fee เพราะ Lazy Economy ผู้บริโภคต้องจ่ายค่า Fee ให้กับความสะดวก


ดังนั้นระบบบริหารจัดการของ Pandamart จาก Cloud Store ทำให้ Foodpanda เป็นตัวเลือกอันดันต้นๆ ของผู้บริโภค จากค่า Fee ที่ไม่แพง


ที่มา :

Comments


bottom of page