สำหรับการ x กันระหว่างซีเล็คกับอาฟเตอร์ยำ น่าสนใจทีเดียว โดยโมเดลเป็นการจับ 2 ขั้วที่มีความโดดเด่นกันคนละด้าน ระหว่างซีเล็ค หรือบริษัท ไทยยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตทูน่ากระป๋องอันดับ 1 ขอโลก กับร้านอาฟเตอร์ยำ ที่สร้างปรากฎการณ์ยำแบบใหม่ ที่นอกจากจะทำให้คนแห่ไปรอคิวที่ร้านตั้งแต่เช้าตรู่แล้ว สังเกตว่าร้านอาหารหลายๆ ร้าน พยายามปรับสูตรหรือวิธีการยำให้เหมือนของอาฟเตอร์ยำ
ซีเล็คแบรนด์ใหญ่ และอาฟเตอร์ยำ ร้านขายยำจากพัทยาที่สร้างมาตรฐานการกินยำแบบใหม่ เมื่อมา x กันมีอะไรน่าสนใจบ้าง?
แฟนเพจสามารถแชร์ข้อมูลกับเราได้ ว่ามองไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ อันดับแรก แน่นอนว่าส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์ โดยโมเดล ‘DIY ทูน่าพร้อมยำ ใครทำก็อร่อย’
สำหรับไทยยูเนี่ยน หรือ TU แม้ว่าปัจจุบันบริษัทจะใหญ่ระดับ Global แล้ว แต่แบรนด์ยังไม่ได้มีชีวิตชีวามากนัก หรือทำให้ผู้บริโภครู้สึกหลงใหลในตัวแบรนด์ได้ ดังนั้นโมเดลการ x สินค้า เป็นการรวมกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของทั้ง 2 แบรนด์ เพื่อจับเป้าหมายลูกค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งจะสร้างอิมแพ็คให้กับทั้ง 2 แบรนด์ ตอกย้ำสินค้าของซีเล็คหรือไทยยูเนี่ยนมากขึ้น
ทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำของผู้บริโภค ดูเข้าถึงง่าย เพราะอย่าลืมว่า วิธีการทำมาร์เก็ตติ้ง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ส่วนอาฟเตอร์ยำเอง แน่นอนว่าวันนี้แม้จะดัง แต่ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่ายอดขายจะดีสม่ำเสมอในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
ดังนั้นการ x กับแบรนด์ใหญ่ระดับโลก ทำให้แบรนด์อาฟเตอร์ยำน่าเชื่อถือมากขึ้น เป็น SME ที่มีโอกาสมีรายได้ทะลุ 100 ล้านก็เป็นไปได้ หรือมีการขยายสาขาในอนาคต ขณะที่โมเมนตัมหลังการทำโมเดล x สินค้าที่ให้ผู้บริโภคประกอบอาหารได้เอง หรือ DIY ด้วยตัวเอง เอื้อให้เกิด UGC Content (User-Generated Content) หรือคอนเทนต์มาจากผู้บริโภคโดยตรง เช่น การนำไปยำทูน่าไปกินกับไข่เจียวก็อร่อย หรือทำยำมาม่าก็อร่อย นอกจากแง่ของมาร์เก็ตติ้งแล้ว การ x ของบริษัท มักจะพบบ่อยในโลกของการทำธุรกิจในปัจจุบัน ท่ามกลางเศรษฐกิจแบบ New Normal ที่อะไร ๆ ก็เปลี่ยนไป คู่แข่งไม่ใช่ธุรกิจที่อยู่ในเซ็คเตอร์เดียวกัน
แต่ในขณะเดียวกันสินค้าก็มีลูกเล่นเยอะขึ้น เข้าถึงคนได้ง่ายขึ้น แบรนด์ไหนยิ่งให้ความสำคัญกับ lifestyle ก็ยิ่งได้เปรียบ และเคลื่อนตัวเป็นปลาเร็วก็จะยิ่งได้เปรียบขึ้นไปอีก
โลกของการทำการตลาดก็เช่นเดียวกัน…จะหมุนไปเร็วยิ่งขึ้น
ที่มา :
Comments