เร็วๆ นี้ จะมีหุ้นไอพีโอตัวใหญ่อีกตัวที่เข้าเทรดในตลาดหุ้น นั่นคือ เงินติดล้อ หรือ TIDLOR โดยเปิดให้จองซื้อหุ้น ตั้งแต่วันที่ 22-26 เมษายนนี้ ผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี จำกัด (มหาชน) โดยเสนอขายหุ้นไม่เกิน 907.42 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 39.1% ในราคา 34.0-36.5 บาทต่อหุ้น โดยมีราคา P/E ที่ 32.6-35.0 เท่า ซึ่งมีนักลงทุนตั้งคำถามว่า ราคาไอพีโอดังกล่าว เมื่อเทียบกับ PE ถือว่าแพงไปหรือไม่?
เมื่อพูดถึงเงินติดล้อ หลายๆ คนอาจจะนึกถึงศรีสวัสดิ์ แต่จริงๆ ต้องบอกว่า แม้จะเคยเกี่ยวข้องกัน แต่ปัจจุบัน เงินติดล้อ ไม่ใช่ศรีสวัสดิ์ !!!
แม้เงินติดล้อ เตรียมจะไอพีโอ แต่ต้องบอกว่า เงินติดล้อไม่ใช่บริษัทใหม่ เพราะในตลาดสินเชื่อนอน-แบงก์ มีแต่หุ้นตัวใหญ่ หรือถ้าเป็นหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ก็จะมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่ชัดเจน เช่น SAWAD, MTC, SAK, TK
ซึ่งเรามองว่า เมื่อ TIDLOR เข้าตลาด จะทำให้หุ้นกลุ่มนี้แข็งแกร่งมากกว่าเดิม เช่นเดียวกับการที่ BAM และ CHAYO เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้หุ้นบริหารสินทรัพย์ หรือ AMC น่าสนใจขึ้น
สำหรับ TIDLOR สิ่งที่เรามองว่าน่าสนใจ ไม่ใช่การที่บริษัทเป็นผู้นำในตลาดสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน แต่คือ “โอกาสการเข้าถึงทางการเงิน” ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยมีช่องทางการจำหน่ายหลากหลาย (Omni-Channel)
ซึ่งคำว่า “เน้นพัฒนาช่องทางดิจิทัล” ใครๆ ก็ทำได้ แต่ที่มากกว่าการพัฒนาแพลตฟอร์ม ในแง่ Marketing หมายถึง ความสะดวกในการเข้าใช้งาน หรือ Friendly User จึงมีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค และส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์โดยตรง
นอกจากนี้ถ้าแฟนเพจเสิร์ชหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของเงินติดล้อ จะเจอคำนิยามคำว่า
“เงินติดล้อ คือ เงินติดล้อ”
เปลี่ยนเพื่อให้ลูกค้าหายสับสน
และเข้าถึงบริการที่มีมาตรฐาน
ซึ่งจุดนี้เอง แม้ว่าปัจจุบัน TIDLOR จะมีสาขาแค่ 10,000 สาขา ไม่ได้เยอะที่สุด เมื่อเทียบกับตลาดนอนแบงก์ หรือตลาดไฟแนนซ์รายอื่น แต่เชื่อว่าผู้บริโภคจะได้ยินชื่อ “เงินติดล้อ” มากกว่าแบรนด์อื่นๆ
ยิ่งการวาง Positioning เป็นแบรนด์ที่มีจุดเด่นเรื่องการพัฒนา ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ยังพยายามจะขายจุดเด่นเรื่อง “ความยั่งยืน” ซึ่งถือว่าดี เพราะการเทรดหุ้นในต่างประเทศ ความยั่งยืนหรือ ESG ถูกหยิบมาพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ ไม่แพ้ Performance หุ้น
นอกจากนี้แล้ว การที่ TIDLOR วาง Positioning แบรนด์ว่าเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อที่มีจุดเด่นเรื่องการพัฒนาระบบ ตามที่บริษัทบอกว่ายอมขาดทุน เพื่อพัฒนาระบบให้ได้มาตรฐาน ปลายทางแล้ว มันคือการเก็บข้อมูลของลูกค้า TIDLOR จะมี Data อยู่ในมือ บวกกับ Paint Point สำคัญคือ
การไม่มีเงิน (ตามในคลิปโฆษณา) ไม่ใช่เรื่องตลก! แต่สิ่งที่แบรนด์มองเห็นคือ ความเป็นคน การหยิบยื่นโอกาสทางการเงิน คือหัวใจของธุรกิจ ดังนั้นในอนาคต TIDLOR จะมีโอกาสอีกมาก จากการเริ่มต้นปักธงที่แพลตฟอร์ม มากกว่าการมุ่งขยายสาขา หรือการหาลูกค้า เพราะบริการที่สะดวก ใช้งานง่าย ลูกค้าจะเข้าหาเอง
สุดท้ายนอกจากจุดแข็งของแบรนด์แล้ว ถ้าดูโครงสร้างทางธุรกิจจะพบว่า TIDLOR ให้บริการ 2 ธุรกิจ คือ 1.ธุรกิจสินเชื่อ รูปแบบสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และสินเชื่อเช่าซื้อที่มีลักษณะเป็นการขายและเช่ากลับคืน (Sale and Lease Back) รวมถึงบัตรกดเงินสด และ 2.ธุรกิจนายหน้าประกันภัย ในกลุ่มประกันวินาศภัย ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ และประกันสุขภาพ เช่น ประกันภัยโรคมะเร็ง
ส่วนในด้านผลประกอบการ ปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ 10,558.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และมียอดหนี้คงค้างแบ่งตามประเภทรถ 51,331.20 ล้านบาท
ที่มา :
Comments