ช่วงไมี่กี่ปีที่ผ่านมา เราอาจจะได้ยินคำว่า Lazy Marketing หรือ "การตลาดคนขี้เกียจ" มากขึ้น
โดย Paint Point ของ Lazy Matketing มันคือ "ความสะดวก" ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกในด้านต่างๆ รวมถึงช่วยประหยัดเวลา หรืออะไรก็ตามแต่ที่ทำให้ผู้บริโภคได้สิ่งที่ต้องการมาแบบง่ายๆ
ในต่างประเทศ Lazy Marketing ถูกพูดถึงน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ‘คำนิยามศัพท์’ ในวงการ Marketing เฉยๆ เช่น Superstar Marketing, Lazy Marketing เป็นต้น ประกอิบกับโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ ดีกว่าบ้านเรามาก เช่น รถเมล์มาตรงเวลา สามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวก เปรียบเทียบกับบ้านเรา การเดินทางโดย Grab สะดวกกว่าการไปยืนรอรถเมล์มาก
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ธุรกิจในกลุ่ม Lazy Marketing ในเมืองไทย นี้จึงเติบโตสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น Food Panda เป็น Food Delivery บริษัทแรกๆ ในไทย ที่เติบโตเร็ว ทั้งๆ ที่ดั้งเดิมเป็นธุรกิจสัญชาติเยอรมัน ที่แทบจะขายกิจการทิ้ง
นอกจากนี้ Grab เอง ก็เป็นยูนิคอร์นในตลาดสตาร์ตอัพโลก ก็บูมมากในไทยเช่นกัน
และนอกจากธุรกิจใหญ่ๆ แล้ว ธุรกิจเล็กๆ ในไทย ที่จัดว่าเป็น Lazy Marketing ก็น่าสนใจไม่น้อย เช่น เพจ “ป้าป้าจองโต๊ะ” ธุรกิจรับจองโต๊ะ ซึ่งค่าบริการไม่ใช่ถูกๆ วันธรรมดา จองโต๊ะละ 500 บาท ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ค่าบริการโต๊ะละ 800 บาท
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่นๆ เช่น รับต่อคิวซื้อรองเท้า รับต่อคิวซื้อเครื่องสำอาง เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ผสมผสาน Creative +Lazy Marketing เข้าด้วยกัน ดังนั้นในอนาคตเราอาจจะเห็น "อาชีพรับจ้าง" ที่แปลกๆ มากขึ้น ก็เป็นไปได้
เพราะ Lazy Marketing ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจใหม่ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภค
Lazy Marketing หรือ Lazy Economy ซึ่งเกิดจาก Lazy Consumer ยังมีรูมที่โตอีกมาก เพราะธุรกิจบริการนั้นไม่จำกัดรูปแบบ
ที่มา :
https://www.facebook.com/Justfrienda69/
Comments